วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3


แบบฝึกหัดทบทวน
บทที่ 2 กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ  ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เหตุที่ขอ คือ เห็นว่าราษฎรมีการศึกษาสูงขึ้น มีข้าราชการที่มีวุฒิการศึกษาสูง นำความรู้มาพัฒนาประเทศได้เพื่อที่จะก้าวหน้าไปสู่หลักสากลเทียบเทียมอารยประเทศ จึงเห็นควรให้ข้าราชการและประชาชนได้มีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา คือ ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ในตัวเอง เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษา  เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษาสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฏ  หมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้อุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)

3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
- ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่ ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
- ทั้ง 3 ปี พ.ศ. จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา แต่ ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
                ตอบ  ในประเด็นที่ 1 จะไม่ค่อยบังคับด้านการศึกษาโดยจะให้เสรีในการเลือกตัดสินใจ  ประเด็นที่ 2 มีการเข้มงวดในเรื่องการศึกษาโดยทางรัฐบาลจะช่วยเหลือด้านเข้าเล่าเรียน

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521 - 2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 -2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
                ตอบ  เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา ทำให้โอกาสในการได้รับการศึกษาต่างกัน คนมีอำนาจหรือมีความร่ำรวยจะได้ได้โอกาสมากกว่าคนจนหรือประชาชนธรรมดา จนอาจทำให้บุคคลกรภายในประเทศไม่มีความพร้อมสู่การพัฒนา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
         ตอบ เมื่อกำหนดรัฐธรรมนูญขึ้นมาจะต้องมีหน่วยงานของรัฐและเอกชนมาให้ความช่วยเหลือทางด้านการศึกษาให้ทั่วถึงและความเสมอภาคแก่ปวงประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
                ตอบ  ฉบับที่ 5-10  (พ.ศ 2540-2550) และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้นคิดว่าโอกาสที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาสูงจะเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นการกระจายอำนาจให้กับประชาชนและได้รับการช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
                ตอบ  เพราะว่าเราทุกคนที่เกิดมา ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย หรือหญิง ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสทุกคนมีสิทธิในความเป็นมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพราะฉะนั้นทุกคนควรได้รับความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย มีความรักษาสามัคคีปรองดองกัน คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มีผลต่อการพัฒนาด้านการศึกษา
                  1. นโยบายเรียนฟรี 15 ปี
                  2. ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์การเรียน
                  3.  การมอบทุนการศึกษา
                  4. การให้การศึกษาแก่ผู้พิการ
            เมื่อมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญา  คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ  ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ  หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2


แบบฝึกหัด
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
คำสั่ง : หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ ในความคิดของผมถือได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก เป็นกลุ่มเป็นก้อน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ ระดับครอบครัว ต่อมาเมื่อมนุษย์มีจำนวนมากขึ้นก็รวมกันเป็นเผ่าเป็นกลุ่มชนและสุดท้ายเผ่าที่มีสายพันธุ์เดียวกันก็รวมเข้าด้วยกันกลายเป็นกลุ่มชนใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นรัฐ เป็นประเทศ การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนองเดียวกัน เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ  ในความคิดของผมคิดว่าสังคมปัจจุบันอยู่ไม่ได้ถ้าหากไม่มีกฎหมาย ซึ่งสังคมปัจจุบันนี้เป็นสังคมแห่งการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น และมีการทุจริตเยอะขึ้น ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดความขัดแย้ง เกิดการทะเลาะวิวาท สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจในเสียงส่วนใหญ่ และการเห็นแก่ตัว

3. ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ      ก. ความหมาย กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
             ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
                ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ประการ คือ
                        1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
                        2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย
                        3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
                        4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับจำคุก กักขัง ริบทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
            ค. ที่มาของกฎหมาย
                ที่มาของกฎหมายของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
                           1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
                           2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
                           3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
                           4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
                           5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
          ง. ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วๆ ไปดังนี้
1. กฎหมายภายใน
           1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                 1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย
                 1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ
           1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                 1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
                 1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
            1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                  1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                  1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
             1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
                  1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
                  1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน
2. กฎหมายภายนอก
            2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
            2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
            2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ  ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายเพราะว่า ข้อกฎหมายเป็นบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องใช้กฎเกณฑ์หรือระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อส่งผลให้ประเทศให้มีความสงบสุข เพราะการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้นมาเพื่อใช้และเป็นกรอบในการดำรงชีวิตจนนำไปสู่ความสงบสุขของประเทศชาติ

5.  สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจ ว่า อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์  จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
 ตอบ  ระบบกฎหมายเเบ่งออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้   
                7.1 ระบบซีวิลลอร์   หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้
              7.2 ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
               1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
               1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System)
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
              2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา
คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
              2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารลบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
              3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น
             3.2. กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อ

9. ท่านเข้าใจถึงคาว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร
ตอบ     ศักดิ์ของกฎหมายคือ  เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
                (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
                (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
                (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้นมีการแบ่ง
 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                           2.พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
3.  พระราชกำหนด                                                        4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
5. พระราชกฤษฎีกา                                                       6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                      8. เทศบัญญัติ
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธีเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
               1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
               3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
               4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

12.  ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ ในฐานะที่เรียนรายวิชานี้ถ้าหากเราเองไม่ทราบกฎหมายทางการศึกษา จะทำให้การดำเนินงานของเราไม่เป็นแบบ เราจะไม่ทราบถึงระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพ  ข้อละเว้นการประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เป็นข้อห้ามสิ่งที่ไม่ชอบไม่ควร ซึ่งวินัยข้าราชการครูมีทั้งระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่อาชีพครูเป็นอาชีพพิเศษที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่างบางครั้งเราอาจกระทำการใดๆลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น อาจก่อความเสียหายในหลายๆทางอาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายการศึกษามาเป็นกราบเเนวทางข้อบังคับในการดำเดินงานของบุคคลากรทางการศึกษาเเละมีบทลงโทษสำหรับการทำผิดวินัยเพื่อจะได้เกรงกลัวเเละไม่กล้าทำผิดวินัยอีก

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่1

ประวัติของฉัน
ชื่อ นายกิตติพงษ์  มหาสุข ชื่อเล่น แบงค์
วันเกิด 13 กรกฎาคม 2540 อายุ 21 ปี
กีฬาที่ชอบ วอลเลย์บอล
ที่อยู่ 100/1 หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านลำนาว  อำเภอบางขัน จังหวัด นครศรีธรรมราช 80360
การศึกษา 
ระดับปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางจันสี
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนกาญจนศึกษาพัฒนาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนทุ่งสง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนทุ่งสง
ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ สาขาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 

อุดมการณ์ความเป็นครูของข้าพเจ้าคือการเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียนในทุกๆด้าน แล้วการให้ความรู้แก่ผู้เรียนและสอนผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถที่จะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และสอนให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งและคนดี

เป้าหมายของข้าพเจ้าในอนาคตข้างหน้าคือการได้บรรจุเป็นครูตามที่ตนเองหวังไว้และได้ทำทีมกีฬาที่ตัวเองรัก